
เมื่อสวมเข้ากับข้อต่อ (Coupler) แล้วสามารถหมุนผ่านได้ตลอดทั้งเส้นโดย ไม่จำเป็นต้อง
ทำเกลียวอีก สามารถใช้ในงานก่อสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กทุกประเภท เช่นเดียวกับเหล็ก
เส้นข้ออ้อยทั่วไป ONE-Bar มี 2 เกรดคือ SD40 และ SD50
ซึ่งมีการพัฒนารูปร่าง โดยทำให้บั้งข้ออ้อยมีลักษณะเวียนตามกัน
อย่างมีระเบียบ จึงทำให้เป็นเกลียวในตัวตลอดทั้งเส้น
"ONE-Bar" เป็นเหล็กเกลียวข้ออ้อย
ตามมาตรฐานอุตสาหกรรม
"ONE-Bar" เหล็กเกลียวเสริมคอนกรีต (เหล็กเสริมคอนกรีตพร้อมต่อ)

บั้งเกลียวของ ONE-Bar ถูกออกแบบให้มีระเบียบและหยาบเป็นพิเศษ
จึงทำให้สามารถรับแรงดึงและแรงอัดได้อย่างดีเยี่ยม นอกจากนี้เกลียว
แบบพิเศษนี้ยังทำให้เราสามารถขันเกลียวได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย


ยิ่งไปกว่านั้น เหล็กเกลียว ONE-Barยังใช้ส่วนผสมที่ช่วยให้เหล็กมี
คุณสมบัติที่ สามารถเชื่อมได้ (weld ability) เป็นอย่างดีจึงเพิ่มความ
คล่องตัวต่อการใช้งานได้อย่างกว้างขวาง
แข็งแรงมากกว่าเดิมด้วย Thermo Mechanical
Treatment ซึ่งจะทำให้เหล็กเกลียวทนทานมากยิ่งขึ้น

มาตรฐานของเหล็กเกลียว และการต่อแบบเชิงกล
(Standard & Mechanical Splicing)
ONE-Bar เป็นเหล็กเส้นข้ออ้อยผลิตตามมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.24/2548เช่นเดียวกับ
เหล็กเส้นข้ออ้อยทั่วไปทุกประการ
ONE-Coupler ถูกผลิตขึ้นเพื่อใช้กับ ONE-Bar โดยเฉพาะ สอดคล้องตามมาตร ฐานการต่อ
เหล็กของ ว.ส.ท., ACI318, BS8110, DIN1045, ฯลฯ
ความแข็งแรงของจุดต่อนั้น ถูกออกแบบให้สูงกว่าทุกมาตรฐานโดยให้จุดต่อมีความแข็งแรง
เทียบเท่า หรือสูงกว่าเหล็กเส้น เมื่อทดสอบแรงดึงในห้องปฏิบัติการเหล็กเส้นจะต้องขาดนอก
บริเวณจุดต่อเสมอ ONE-Bar จึงเป็นระบบการต่อเหล็กแบบเชิงกลที่ให้ความแข็งแรงเต็มกำลัง
เหล็กอย่างแท้จริง (Real Full Tension Splice)


การต่อเหล็ก ONE-Bar ด้วย ONE-Coupler 3 รูปแบบ
แนวบั้งเกลียวของเหล็กจะเวียนซ้ายสอดคล้องกันตลอดความยาวของเหล็ก ดังนั้นไม่ว่าจะตัดที่ตำแหน่งใดๆ ของเหล็ก
ONE-Bar ก็สามารถหมุน Coupler เข้าได้ทุกตำแหน่งตลอดทั้งเส้น

1) หมุน Coupler เข้ากับปลายเหล็กด้านที่
Fixed ให้เข้าไปเพียงครึ่งหนึ่งของ
Coupler แล้วนำเหล็กที่ต้องการต่อเข้า
ไปชนปลาย
2) นำเหล็กที่จะนำมาต่อ หมุนเข้ากับ
Coupler จนยัน Center Stopper

1) Mark บน ONE-Bar เท่ากับครึ่งหนึ่งของ Coupler
บนด้านที่ Fixed
2) หมุน Coupler เข้ากับปลาย ONE-Bar ที่จะนำมาต่อ
จนปลายเหล็กโผล่ออกมาเสมอ กับปลาย Coupler
3) นำเหล็กที่สวม Coupler ไว้แล้ว มาชนกับ
ปลายเหล็ก ONE-Bar ที่ Fixed
4) หมุน Coupler เข้ากับปลาย ONE-Bar ด้าน Fixed
จนถึงจุด Mark
5) หมุน ONE-Bar ที่นำมาต่อเล็กน้อยจนแน่น

การต่อจะทำแบบเดียวกับการต่อแบบ B (ขั้นตอน 1-4) แต่มี Lock Nut ร่วมกับ coupler
ในขั้นตอนที่ 5 ให้ใช้ Lock Nut ช่วยขันชน Coupler จนแน่นมากขึ้น
1) ONE-Bar สามารถตัดแล้วต่อได้เลยทันที่โดยไม่ต้องทำเกลียวอีก
2) ไม่เกิดเศษเหล็กจากการตัด และทำเกลียว
3) ยังคงความแข็ง (Hardness) ที่ผิวของเหล็กเกลียวไว้ตลอดเวลา
(เนื่องจากไม่ต้องทำเกลียว) จึงช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับจุดต่อ
อย่างถาวร ซึ่งการต่อในระบบอื่นไม่สามารถทำได้
4) ไม่มีการรบกวนโครงสร้าง (Micro-structure) ของเหล็กเนื่องมาจากกระบวนการทำเกลียว
จึงไม่สร้างจุดอ่อน (weak point) ให้กับเหล็กและจุดต่อ
5) พื้นที่หน้าตัดของเหล็กคงที่ตลอดทั้งเส้น ทุกขนาด ทุกความยาว
6) เหล็กเกลียว ONE-Bar พร้อมเสมอสำหรับการต่อเหล็ก (mechanical splicing)
เพราะไม่ต้องเสียเวลาทำเกลียวอีก ทำให้ผู้รับเหมาสามารถตัดและต่อเหล็กได้ทันทีที่ต้องการ
7) ไม่มีต้นทุนแอบแฝงเกิดขึ้นอีก เช่นงานบริการเครน, ที่พักคนงาน, ค่ากระแสไฟฟ้า, พื้นที่ทำงาน, ฯลฯ
8) ลดความแออัดของคนงานในหน่วยงาน จึงง่ายต่อการดูแล และการรักษาความปลอดภัย
9) เพิ่มความปลอดภัยในการทำงาน ลดความเสี่ยงจากไฟฟ้าดูด ช็อต สะเก็ดไฟ กลิ่น ควัน จากงานเชื่อม
10) เหล็กเกลียว ONE-Bar สามารถเชื่อมได้ จึงนำมาต่อเชื่อมกับเหล็กโครงสร้างอื่นได้ตลอดเวลา
11) เหล็กเกลียว ONE-Bar สามารถดัดได้ ทั้งก่อนและหลังการต่อ อีกทั้งยังสามารถถูกตัดในที่ได้อีกด้วย
12) ข้อต่อรูปหกเหลี่ยมทำให้เราใช้ประแจช่วยขันเกลียวได้ง่าย โดยไม่จำเป็นต้องใช้ประแจปอนด์
13) ลดเวลาในการก่อสร้าง เพราะสามารถตัดต่อเหล็กได้ทันทีตามแบบก่อสร้าง
14) ลูกค้าสามารถลดต้นทุนในการก่อสร้างโดยรวม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อได้เปรียบของเหล็กเกลียว ONE-Bar (ที่เหนือกว่าเหล็กเส้นข้ออ้อยทั่วไป)

การประยุกต์ใช้เหล็กเกลียว ONE-Bar ในงานก่อสร้าง
• สามารถใช้แทนเหล็กเส้นข้ออ้อยธรรมดาที่ใช้เสริมคอนกรีตในงานโครงสร้างทั่วไป
• งาน Micro pile, งานเสาเข็มทดสอบ (Test pile), งานหัวเสาเข็ม (Pile cap)
• เหล็กนอนในงานฐานรากแบบพืด (Mat foundation), พื้น และคานคอนกรีต
• ใช้เป็น Anchor bolt, Hold-down bolt ในงานตอม่อ และฐานราก
• เหล็กยืนในงานเข็ม, ตอม่อ, เสา, ผนัง, กำแพง และปล่องชาร์ฟ (Shaft)
• ใช้เป็น Starter bar ที่ฝังในกำแพง (Core wall, diaphragm wall), ช่องเปิดที่พื้น
• ใช้เป็นจุดต่อ (Construction joint) ในงานพื้น, ผนัง, กำแพงรับน้ำหนัก (Shear wall)
• ใช้เป็น Anchor bar, Shear bar ในบริเวณที่มี Punching shear สูง
• ใช้เป็นเหล็กยึดรับแรงดึงในงาน Tie bar, Tie back, Sag rod, Tie rod
• ใช้เป็น Lifting stud สำหรับงานยกแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูป
• ใช้เป็น Rock bolt, Soil nail สำหรับงานเหมืองแร่, งานป้องกันความลาดชัน (Slope Protection)
• งานอื่นใดที่ต้องการการต่อแบบเชิงกลที่แข็งแรง ต้องการความปลอดภัย และความมั่นใจสูงสุด








ขนาดและมิติต่างๆ



